Part I Uprooting the poisonous tree of the coup d’état
Rumors of a decree which would qualify ex-PM Thaksin Shinawatra for a royal pardon predictably stirred outrage among Thaksinophobes (a term coined by former Thammasat rector Dr Charnvit Kasetsiri. [ii]) Some, claiming the sanctity of the rule of law, are calling for another coup without the slightest sense of irony that a coup would not come in the rescue of the rule of law but the slaughter of it.
Those immune to Thaksinophobia are also worried about the rule of law – for a different reason. Seeing this rumored move as validating the court decision against Thaksin and a justification of the previous coup which led to it, they would prefer the government to implement recommendations [iii] proposed by the Enlightened Jurists (the Nitirat group of academics) on September 19 to throw out all the rotten ‘fruit’ of the 2006 coup.
In order to de-legitimize coups, the proposal aims to annul all legal actions taken as a consequence, as Nitirat argued that the fruit of a poisonous tree must also be toxic. Therefore, the verdict against Thaksin for corruption charges, brought about by the 2006 coup, should be nullified. This will not exonerate the ex-PM, however, and the case can be brought against him again now in a democratic environment.
The Nitirat metaphor of poisonous fruit [iv] takes after the legal precedent established in the 1920 case of Silverthorne Lumber Company versus the United States where evidence illegally obtained was ruled inadmissible as a basis for decision. [v] Nitirat could, however, easily have adopted a comparable metaphor from the Bīja sutta in Anguttara Nikāya of the Tipiṭaka in which the Buddha said, “Just as when a sadao seed, a bitter creeper seed, or a bitter gourde seed is placed in moist soil, whatever nutriment it takes from the soil and the water, all conduces to its bitterness, acridity, and distastefulness. Why is that? Because the seed is evil.” [vi]
The Buddha explained that in the same way when a person has a wrong view, all his acts lead to what is disagreeable, unpleasing, unappealing, unprofitable, and painful. Nitirat could borrow this simile to argue that a process begun with a biased view cannot lead to an unprejudiced result.
If Thai democracy is a tree, most Thais will agree that it has been plagued by corruption for much of its life. However, instead of plucking out the weed with democratic means like in other countries, many Thais would clamor for a coup. This has become a culture to the point that coups have been turned into an institution in the Thai political landscape.
Like a banyan tree, coup makers have a way to hide their Machiavellian nature under a façade of respectability. Growing out of seeds deposited on another tree by birds, banyan trees are identified by the Buddha as one of “those huge trees with tiny seeds and huge bodies, encirclers of other trees, and the trees which they encircle become bent, twisted, and split.” [vii]
There’s no doubt that coups have long strangled Thai democracy – a ‘cure’ worse than the disease of corruption – and we should do well to follow the advice in Palāsa Jātaka: “Wise men abhor the parasitic thing; That chokes the form to which it loves to cling; The wise, suspecting danger from the weed; Destroy the root before it comes to seed.” [viii]
Not only do coups fail to eliminate corruption, it must be argued that they aggravate it, because they stem from the same stock as the corruption they ostensibly aim to eliminate. In “Good, Evil and Beyond” [ix], the venerable PA Payutto cited three defilements – taṇhā (craving for personal gain), māna (pride, desire to dominate), and diṭṭhi (clinging to views) – which “can be seen even more clearly on the social scale than on the individual level.” [x] Corruption is obviously caused by the first – desire for personal gain. [xi]
But are coups any better? The venerable Payutto said, “Coupled with the craving for personal gain, the craving for power gives rise to exploitation, nationalism and expansionism with all their subsequent chaos.” [xii] No doubt, coups can be easily appended to that list.
Always looking for shortcuts, coup-loving Thais forget that no good ends can justify a wicked means, in accordance with the dharma which is said to be lovely in the beginning (view), lovely in the middle (means), and lovely in the end (result). Two wrongs do not make a right.
As the venerable Payutto expounded, “Guided by wrong view, everything else goes wrong. With right view, actions are guided in the right direction.” [xiii] I argue that the vicious cycle of coups is based in our Amnat-Niyom culture or ‘might makes right’ view, as can be analyzed with the Buddha’s teachings on Dependent Origination (Paṭiccasamuppāda).
With ignorance (avijjā) – failing to imagine better alternatives – we jump at any pretext to call for a coup. This finds its answer in the emergence of a new construct (sankhāra) – for example, the previous coup’ Council for National Security – with its own consciousness (viññāṇa) to grant itself amnesty. Legal measures and political apparatuses (nāmarūpa), like the Asset Examination Committee, were then formed.to justify the coup’s raison d’être and carry out its mission.
This orchestrates distortion of public senses (saḷāyatana) like the media or even the judiciary to become irrationally oversensitive to the original stimulus (i.e. corruption) causing any contact (phassa) with it a painful sensation (vedanā) and a craving (taṇhā) to get rid of it by all means, regardless of justice.
It serves to increase the clinging (upadāna) to the coup as the ultimate ‘solution’, deepening the ignorance (avijjā). The vicious cycle thus comes full circle and perpetuates itself, putting Thailand at number four in world ranking for the highest number of coups – after Sudan, Iraq and Bolivia. [xiv]
Without having much to show in term of eliminating corruption (as opposed to individual politicians) while military budgets keep ballooning with little scrutiny, coups have long caused injustice and detrimental effects to the rule of law, democracy and human rights as seen in the past few years. Thailand’s addiction to coups must now stop, and Nitirat’s recommendations, if implemented, would act as a wrench thrown into the vicious cycle. By uprooting the toxic tree of ‘might makes right’, it’s hope that not only will it reverse the damaging effects of the coup on Thai society but also deter future coups.
Unfortunately, the alleged decree, if true, would do the exact opposite. Collusive amnesties and pardons will perpetuate the culture of impunity, destroy the rule of law and reinforce the ‘might makes right’ view which is the root cause of the conundrum we’re in to begin with.
A wise mind has written, “Sow a thought and reap a deed, Sow a deed and reap a habit, Sow a habit and reap a character, Sow a character and reap a destiny.” It’s time we made sure that Thailand is not forever condemned to a destiny of coups by uprooting the poisonous tree of coup d’état which has long strangled Thai democracy.
Part II Rolling back the wheels of the army tanks
Middle class people in Bangkok and elsewhere feel that politicians do nothing for them except cheat. That's why a coup is a no-brainer way to 'get rid of corruption'. Rural people, however, now take democracy seriously because it has been transformed into something they can effectively use to leverage a fairer distribution of power and resources. That’s why a coup to oust democratically elected politicians is viewed as a no-go for them.
How do we manage these different views in moving society forward? The venerable PA Payutto wrote” “Social directions are decided by ditthi [views/ beliefs/ ideologies]. A sense of value of any given thing, either on an individual or social basis, is ditthi.… On the social level, we find attitudes adhered to by whole societies. When there is a conviction in the desirability of any given thing, society supports it. This collective support becomes a social value, a quality adhered to by society as a whole, which in turn pressures the members of society to perpetuate such beliefs or preferences.”
Some would argue that democracy is just one among many political views with no claim above others. They might claim that occasional military rule is better for our society. If anything, our five-year-long political turmoil reveals how deeply divided Thai society is in its views about democracy and military rule.
Here, it can be argued that democracy is not just another view, but a process – in fact the best available one – to mediate conflicting views. The Buddha warned against clinging to any view. Democracy lessens such clinging through its built-in respect for diversity of views, freedom of expression and idea exchanges based on equality, non-discrimination and non-violence. A democracy allows multitudes of views (for example, on anti-flood measures), meta-views on how to manage those views (democracy or dictatorship?) and even meta-meta-views like discussions on the comparative merits of democracy and dictatorship. Such luxury, however, rarely exists in authoritarian rule, where there can be only one ideology.
What would the Buddha think of democracy? Without an extensive account of his thoughts on politics, the Buddha’s teachings have been quoted to support different systems. But certain deductions can be made from what he did. The Buddha modelled the Order of monks not after a kingdom but the Vajjian confederacy – one of the world’s oldest democracies. He also told disciples to look for guidance from his teachings, without naming anyone to succeed him. The Sangha is, therefore, governed not by the authority of individuals, but with monastic rules that require monks to be regularly subjected to mutual examination, just as politicians should be.
When the Vajjian confederacy came under attack, the Buddha cited its democratic system’s protective advantages. He said it can be expected to prosper as long as the Vajjians “hold regular and frequent assemblies; … meet in harmony, break up in harmony and carry on their business in harmony; … do not authorise what has not been authorised already, and do not abolish what has not been authorised, put proceed according to what has been authorised by ancient tradition”. The first two can be interpreted as emphasis on public reasoning and democratic mediation of views, while the last can be interpreted as respect for the rule of law.
Identifying democracy with public reasoning in The Argumentative Indian, Nobel laureate Amartya Sen wrote: “Public reasoning includes the opportunity for citizens to participate in political discussions and to influence public choice. Balloting can be seen as only one of the ways – albeit a very important way – to make public discussions effective, when the opportunity to vote is combined with the opportunity to speak and listen, without fear. The reach – and effectiveness – of voting depend critically on the opportunity for open public discussion.”
Sen also reminded us how early Buddhism thrived on such a democratic space: “The so-called ‘Buddhist councils’, which aimed at settling disputes between different points of view, drew delegates from different places and from different schools of thought.… These councils were primarily concerned with resolving differences in religious principles and practices, but they also addressed the demands of social and civic duties, and furthermore helped, in a general way, to consolidate and promote the tradition of open discussion on contentious issues.”
While early Buddhism valued open discussion, modern Buddhist states seem intent on shutting down debate. Some are run like police states where ideologies and policies are dictated on the populace through propaganda machines, while censorship shuts down freedom of expression and idea exchange. In others, democracy often exists merely in form as a series of elections, rather than in essence. Public reasoning is silenced with illiberal laws, allowing the country to slide towards one form of authoritarianism or another. It’s no surprise, then, that one of the Nitirat (group of anti-coup academics) recommendations is the revision of the lese majeste law, which has been turned into a lethal political weapon rather than a safeguard of the monarchy, as originally intended.
When the Buddha “set in motion the wheel of dharma (dhammacakka)” with his first sermon, he gave a new meaning to ancient India’s wheel symbolism, which previously referred not to just any wheel but that of the war chariot – ethe quivalent of modern-day tanks. While Brahmanistic rites celebrated the supreme rule of the universal monarch or cakkavatti – one who turns the wheel – the Buddha declared every member of society a wheel-turner. In Vasettha sutta he said: “Action makes the world go round. Action turns generations of men. Beings are held together by action, like the chariot wheel by the linchpin.”
Even if Nitirat’s proposals are ignored by the government, that should not stop people from adopting them, especially the “Declaration on the Fundamental Values of Liberal Democracy.” Although, as Nitirat is ready to admit, this probably won’t by itself stop tanks in the street, it will help roll back their wheels in the people’s minds.
A declaration promoting participatory democracy and human rights will provide an alternative to coups for combating social and political ills, including corruption. It chips away at the ignorance (avijja) of failed imagination and paves the way for the construction and strengthening of social and political reality (sankhara), where the rights of citizens take priority in the public consciousness (vinnana) with appropriate legal apparatuses (namarupa) to ensure realisation of those rights.
These will help sharpen public organs (salayatana) like the media to become a watchdog for human rights and liberty. The achievements of these rights will be met with a public sense (vedana) of delight, a desire to uphold such values, and a deeper commitment to the idea of human rights as the central principle holding society together. Setting the democratic wheel in motion, this gives a positive feedback to the virtuous cycle, and further dispels ignorance. Once this Dependent Origination of democracy and human rights takes root in the public consciousness, it cannot be torn down or dislodged by any coup.
The Thai words for “state” and “citizens” notably are both from the Sanskrit term, rastra. The state and the people can only be one and the same. One day a more democratic Thai society will thank Nitirat for reminding us that the rule of law must be of the people, by the people and for the people – no more and no less.
(ภาคภาษาไทยตีพิมพ์ครั้งแรกในเว็บไซต์นิติราษฎร์ วันที่ 1 ธ.ค. 2554)
เป็นไปตามที่คาดคิด เมื่อข่าวลือเรื่องพระราชกฤษฎีกาที่จะรวมอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณชินวัตรอยู่ในข่ายผู้ได้รับพระราชทานอภัยโทษ ทำให้เกิดความโกรธแค้นในหมู่ผู้เป็น“โรคเกลียดทักษิณ” หรือ Thaksinophobia (โรคใหม่ที่วินิจฉัยโดยดร.ชาญวิทย์ เกษตรศิริ อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ [ii])
บางคนถึงกับเรียกให้ทหารออกมาทำรัฐประหาร เพื่อรักษาความศักดิ์สิทธิ์แห่งนิติรัฐ (rule of law) โดยมิได้รู้สึกสะกิดใจแม้แต่น้อยถึงความน่าขันของข้อเรียกร้องดังกล่าวว่าการทำรัฐประหารไม่อาจกอบกู้นิติรัฐได้ มีแต่จะประหารให้หมดสิ้นไปตามชื่อของมัน
ในขณะเดียวกัน ข่าวลือดังกล่าวก็ทำให้ผู้มีภูมิคุ้มกันต่อ“โรคเกลียดทักษิณ” เกิดความกังวลต่อนิติรัฐด้วยเหตุผลที่ต่างออกไป คนกลุ่มนี้เห็นว่าหากรัฐบาลทำจริงตามข่าวลือ ก็เท่ากับเป็นการยอมรับคำตัดสินของศาลในคดีคอรัปชั่นต่ออดีตนายกและสร้างความชอบธรรมให้กับรัฐประหารปี2549ที่เป็นเหตุต้นนำมาสู่คำตัดสินนั้น พวกเขาต้องการให้รัฐบาลดำเนินการลบล้างผลพวงของรัฐประหาร5 ปีก่อน ตามข้อเสนอเมื่อวันที่ 19 กันยายนของกลุ่มนิติราษฎร์ [iii] เพื่อที่จะลบล้างความชอบธรรมของรัฐประหาร
ข้อเสนอของกลุ่มนิติราษฎร์ คือให้การดำเนินการทางกฎหมายใดๆ ที่เป็นผลผลิตของรัฐประหารต้อง“เสียเปล่า” โดยนิติราษฎร์ให้เหตุผลว่า ผลไม้จากต้นไม้มีพิษก็ต้องเป็นพิษด้วยเช่นกันดังนั้น คำตัดสินจำคุกอดีตนายกที่มาจากข้อกล่าวหาของคณะรัฐประหารจึงควรเป็นโมฆะแต่ก็ยังสามารถเริ่มต้นดำเนินคดีใหม่ได้ในท่ามกลางบรรยากาศทางการเมืองที่เป็นประชาธิปไตยเช่นในปัจจุบัน
อุปมาอุปไมย“ผลไม้พิษ” ของนิติราษฎร์นี้ เทียบเคียงจากหลักการ “Fruitof the Poisonous Tree” [iv] ของระบบยุติธรรมในสหรัฐอเมริกา ที่เป็นมาตรฐานมานับตั้งแต่ปี ค.ศ. 1920 ในคดีระหว่างบริษัทซิลเวอร์ธอร์นลัมเบอร์กับรัฐบาลกลางสหรัฐ (Silverthorne Lumber Company versus the United States)ซึ่งศาลสูงสหรัฐอเมริกามีคำตัดสินว่าหลักฐานที่ได้มาอย่างผิดกฎหมายไม่สามารถนำมาใช้ในศาลได้ [v]
จริงๆ แล้ว นิติราษฎร์จะยกอุปมาอุปไมยคล้ายๆ กันจากพระไตรปิฎกมาใช้เปรียบเทียบก็ได้ ในพีชสูตร [vi] ของอังคุตรนิกาย พระพุทธเจ้าตรัสว่า “เปรียบเหมือนเมล็ดสะเดาก็ดี เมล็ดบวบขมก็ดี เมล็ดน้ำเต้าขมก็ดี บุคคลหมกไว้ในดินที่ชุ่มชื้น รสดินรสน้ำที่เมล็ดนั้นซึมซับทั้งหมด ย่อมเป็นไป เพื่อความเป็นของขม เพื่อความเผ็ดร้อน เพื่อความไม่น่ายินดี ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะเมล็ดพืชนั้นเลว” [vii] และเปรียบเทียบว่า ผู้ที่มีความเห็นผิดย่อมมีการกระทำทั้งกายวาจาใจที่นำไปสู่ผลที่ไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่น่าชอบใจ ไม่เป็นประโยชน์เกื้อกูล เพื่อทุกข์ [viii] ในทำนองเดียวกัน นิติราษฎร์สามารถยกอุปมานี้ขึ้นกล่าวได้ว่า กระบวนการที่เริ่มด้วยความเห็นที่มีอคติตั้งแต่ต้นย่อมไม่สามารถให้ผลที่เป็นธรรมได้ [ix]
หากประชาธิปไตยเป็นต้นไม้คนไทยส่วนใหญ่คงเห็นพ้องต้องกันว่าต้นไม้นี้ถูกเบียดเบียนด้วยวัชพืชของการทุจริตคอรัปชั่นมาอย่างยาวนาน แต่แทนที่จะอดทนถอนวัชพืชดังกล่าวด้วยวิถีทางประชาธิปไตยดังเช่นประเทศอารยะอื่นๆคนไทยจำนวนมากกลับเรียกร้องหารัฐประหารจนเป็นธรรมเนียม ทำให้รัฐประหารกลายเป็นสถาบันหยั่งรากลึกในภูมิทัศน์การเมืองไทย
ทหารที่ทำรัฐประหารมักจะซ่อนความมีเล่ห์เหลี่ยมไว้อยู่เบื้องหลังฉากหน้าอันน่านับถือ เหมือนกับต้นไทรที่เติบโตจากเมล็ดในผลไม้ที่นกกินแล้วบินไปถ่ายไว้บนต้นไม้อื่น พระพุทธเจ้าทรงกล่าวถึงต้นไทรในรุกขสูตร[x] ของสังยุตตนิกาย ว่าเป็น “ต้นไม้ใหญ่ มีเมล็ดเล็ก มีลำต้นใหญ่งอกคลุมไม้ต้นทั้งหลาย ทำให้ต้นไม้ที่มันงอกคลุมแล้ว ล้มหักกระจัดกระจายวิบัติไป”
ไม่ต้องสงสัยว่า รัฐประหาร นั้นก็ไม่ต่างจากต้นไทรที่มางอกคลุมต้นไม้ประชาธิปไตย (หากเรียกว่าเป็น “ยารักษา” โรคทุจริตคอรัปชั่น ก็เป็นยาที่เลวร้ายกว่าตัวโรคด้วยซ้ำ) ดังนั้นเราจึงควรระลึกถึงอุทาหรณ์ในปลาสชาดก ที่ว่า “ดูกรสหาย ต้นไทรเกิดติดอยู่ที่ค่าคบของท่านแล้ว มันเจริญขึ้นแล้ว จะตัดชีวิตของท่านเสีย... ผู้ใดทำให้ที่พึ่งพาอาศัยพินาศไปเสีย ท่านผู้ฉลาดไม่สรรเสริญความเจริญของผู้นั้น จึงเพียรพยายามที่จะตัดรากเหง้าเสีย”[xi]ไม่เพียงแต่รัฐประหารจะล้มเหลวในการกำจัดทุจริตคอรัปชั่นผู้เขียนมองว่ารัฐประหารมีแต่จะทำให้การทุจริตคอรัปชั่นยิ่งเลวร้ายลงเพราะรัฐประหารเองก็มาจากรากเหง้าเดียวกันกับการทุจริตคอรัปชั่นนั่นเอง
ในหนังสือ “Good, Evil and Beyond” [xii] พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตโต หรือปัจจุบันดำรงสมณศักดิ์พระพรหมคุณาภรณ์) ได้กล่าวถึงกิเลสสามอย่างที่“สามารถเห็นในระดับสังคมได้ชัดเจนยิ่งกว่าในระดับปัจเจกบุคคล” ได้แก่ ตัณหา(ความปรารถนาส่วนตน), มานะ (ความทะเยอทะยานอยู่เหนือผู้อื่น) และทิฏฐิ (การยึดติดกับความเห็น) [xiii] การทุจริตคอรัปชั่นก็มีสาเหตุมาจากตัณหา [xiv]
พระธรรมปิฎกยังกล่าวอีกว่า “มานะหรือความทะเยอทะยานอยู่เหนือผู้อื่นเมื่อมาพร้อมกับตัณหาหรือความปรารถนาส่วนตน ก็นำไปสู่การเอารัดเอาเปรียบ,ลัทธิชาตินิยม และลัทธิแผ่ขยายอำนาจ รวมถึงความวุ่นวายที่ตามมา” [xv] แม้พระธรรมปิฎกจะไม่ได้กล่าวถึงรัฐประหารโดยตรงแต่ไม่น่าสงสัยเลยว่าสามารถจัดรัฐประหารให้เข้าอยู่ในกลุ่มนี้ได้
คนไทยใฝ่รัฐประหารมักมองหาแต่ทางลัดโดยมิได้คำนึงถึงว่า เราไม่สามารถแก้ความผิดอย่างหนึ่งได้ด้วยความผิดอีกอย่างหนึ่งและเป้าหมายสูงส่งไม่สามารถบรรลุได้ด้วยวิธีการอันต่ำทราม หากแต่ควรเอาแบบอย่างจากพระพุทธเจ้าที่สอนธรรมอัน“งดงามในเบื้องต้น งดงามในท่ามกลาง และงดงามในที่สุด” นั่นคือ บริสุทธิ์ทั้งความเห็นชอบวิธีการชอบ และผลลัพธ์ชอบ [xvi] พระธรรมปิฎกยังกล่าวว่า “เมื่อเริ่มด้วยความเห็นผิด ทุกอย่างก็ผิดไปหมด เมื่อมีความเห็นชอบการกระทำต่างๆ ก็เป็นไปในทางที่ชอบ” [xvii]
วัฒนธรรมอำนาจนิยมของสังคมไทย มักมิได้ถือว่าความถูกต้องเป็นรากฐานของอำนาจแต่กลับถือว่าการใช้อำนาจบาตรใหญ่คือความถูกต้อง ในความเห็นของผู้เขียน วัฒนธรรมอำนาจนิยมนี้เองที่เป็นรากเหง้าวงจรรัฐประหารซ้ำซากที่ฝังลึกในจิตสำนึกของคนไทยตามการวิเคราะห์ปฏิจจสมุปบาทของพุทธศาสนา
เมื่อวัฒนธรรมอำนาจนิยมฝังรากอยู่ในสังคมแล้ว ไม่ว่ามีข้ออ้างใดๆก็จะเกิดเสียงเรียกหารัฐประหารอยู่ร่ำไป เพราะมีอวิชชา คือความมืดบอดล้มเหลวที่จะจินตนาการทางเลือกที่ดีกว่า เมื่อเสียงเรียกร้องหนักเข้า ก็จะได้รับการตอบสนองเป็นการประกอบสร้างกรรมใหม่ (สังขาร) ได้แก่ คณะรัฐประหาร คือ คณะปฏิรูปการปกครองที่ฉีกรัฐธรรมนูญ และมีความระลึกตัว (วิญญาณ) ที่จะนิรโทษกรรมตนเอง ทั้งยังกำหนดมาตรการและโครงสร้างต่างๆ ทางกฎหมาย (นามรูป) เช่น คณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐเพื่อสร้างความชอบธรรมให้กับการทำรัฐประหารและเป็นมือเป็นเท้าทำหน้าที่ตามภารกิจของคณะรัฐประหาร
กระบวนการเหล่านี้บิดเบือนต่อมความรู้สึก (สฬายตนะ) ในปริมณฑลสาธารณะ เช่น สื่อมวลชนหรือแม้แต่กระบวนการยุติธรรม ให้มีความโอนเอียงผิดพลาดต่อสิ่งกระตุ้นเริ่มต้น (คือการทุจริตคอรัปชั่น) ทำให้การข้องแวะ(ผัสสะ) ใดๆ ในประเด็นดังกล่าว เกิดความรู้สึก (เวทนา) ทุกข์ร้อนจนเกินจริงอย่างไร้เหตุผล และความต้องการ (ตัณหา) ที่จะกำจัดออกไปทุกวิถีทางไม่ว่าจะชอบธรรมหรือไม่เพิ่มความยึดมั่น (อุปาทาน) ว่ารัฐประหารเป็นคำตอบสุดท้ายตอกย้ำอวิชชาให้ดำมืดลงไปอีก และหมุนวงจรอุบาทว์ให้ดำเนินต่อไปอย่างซ้ำซาก จนทำให้ไทยถูกจัดอันดับเป็นประเทศที่มีการรัฐประหารบ่อยที่สุดอันดับ 4 ของโลก รองจากซูดาน อิรัก และโบลิเวียเท่านั้น [xviii]
นอกจากรัฐประหารจะไม่สามารถกำจัดการทุจริตคอรัปชั่นได้จริง (มีแต่กำจัดนักการเมืองรายบุคคล) ในขณะที่งบกลาโหมกลับทวีคูณอย่างแทบไม่ถูกตรวจสอบรัฐประหารยังทำให้เกิดความอยุติธรรม ทำร้ายนิติรัฐ ประชาธิปไตย และสิทธิมนุษยชน อย่างเห็นได้ชัดเจนจากความขัดแย้งอย่างความรุนแรงในช่วงสี่ห้าปีที่ผ่านมาจึงถึงเวลาแล้วที่จะต้อง “หักดิบ” การเสพติดรัฐประหารของสังคมไทย
หากข้อเสนอของนิติราษฎร์ได้รับการนำมาปฏิบัติก่อนอื่นก็จะเป็นการโยนก้อนหินเข้าไป “แจม” วงจรอุบาทว์ให้สะดุดหยุดลง นอกจากไม่เพียงแต่จะช่วยยุติผลอันเป็นโทษของรัฐประหารมิให้ลุกลามแพร่ขยายพันธุ์เพิ่มเติมแล้วยังอาจหวังได้ว่าจะเป็นการเริ่มต้นกระบวนการถอนรากถอนโคนวัฒนธรรมอำนาจนิยม เพื่อมิให้เกิดรัฐประหารขึ้นอีกในอนาคต
อย่างไรก็ดี หากมีการออกพระราชกฤษฎีกาจริงตามข่าวลือก็จะเป็นเรื่องที่น่าเสียดาย เพราะทั้งการนิรโทษกรรมหรือการขออภัยโทษเพื่อพวกพ้อง เป็นการส่งเสริมวัฒนธรรมทำผิดแล้วลอยนวลทำลายนิติรัฐ และตอกย้ำอำนาจนิยม ซึ่งเป็นรากเหง้าของปัญหามาตั้งแต่แรก
มีผู้เคยกล่าวไว้ว่า “หว่านความคิดได้การกระทำ หว่านการกระทำได้นิสัยหว่านนิสัยได้สันดาน หว่านสันดานได้ชะตากรรม” ถึงเวลาแล้วที่เราต้องช่วยกันดึงประเทศไทยให้หลุดพ้นจากวังวนชะตากรรมอันน่าอนาถด้วยการกำจัดต้นไม้พิษรัฐประหารที่บ่อนทำลายประชาธิปไตยไทยมายาวนานอย่างถอนรากถอนโคน
................................................................................................
ชนชั้นกลางในกรุงเทพส่วนใหญ่รู้สึกว่านักการเมืองไม่ได้ทำประโยชน์อะไรให้กับพวกตนนอกจากโกงกินเท่านั้นดังนั้นการทำรัฐประหารจึงเป็นการกำจัดทุจริตคอรัปชั่นอย่าง “ไม่ต้องคิด” ในทางกลับกัน คนชนบทในปัจจุบันกลับเห็นประชาธิปไตยเป็นเรื่องจริงจังนับตั้งแต่การเมืองกลายเป็นเครื่องมือที่พวกเขาสามารถใช้ต่อรองการกระจายอำนาจและทรัพยากรได้อย่างยุติธรรมมากยิ่งขึ้นดังนั้นการทำรัฐประหารเพื่อขับไล่นักการเมืองที่ผ่านการเลือกตั้งตามครรลองประชาธิปไตยจึงเป็นเรื่อง“อย่าได้คิด”
แล้วเราจะบริหารจัดการความคิดเห็นที่แตกต่างกันเช่นนี้ได้อย่างไรเพื่อให้สังคมเดินหน้าต่อไป พระธรรมปิฎกบรรยายไว้ว่า “ทิศทางของสังคมถูกกำหนดโดยทิฏฐิ [ความเห็น,ความเชื่อ, อุดมการณ์] การให้คุณค่ากับสิ่งใดๆไม่ว่าจะในระดับปัจเจกหรือระดับสังคมก็คือ ทิฏฐิ[xix]... ในระดับสังคมจะมีทัศนคติที่สังคมยึดถือร่วมกันเมื่อสังคมเชื่อมั่นว่าสิ่งใดสิ่งหนึ่งเป็นสิ่งที่พึงปรารถนาก็จะร่วมกันสนับสนุนสิ่งนั้นการสนับสนุนร่วมกันกลายเป็นคุณค่าทางสังคม หรือลักษณะที่สังคมยึดถือร่วมกันผลักดันให้สมาชิกอื่นๆ ของสังคมช่วยกันพิทักษ์รักษาความเชื่อหรือความชอบเหล่านั้น” [xx]
บางคนอาจกล่าวว่า ประชาธิปไตย ก็เป็นแค่ความเห็นทางการเมืองหนึ่งในบรรดาที่มีอยู่มากมายไม่ได้อยู่เหนือกว่าความเห็นอื่น และอาจอ้างว่าการปกครองแบบเผด็จการทหารบ้างเป็นสิ่งที่เหมาะสมกว่าสำหรับสังคมไทย ความขัดแย้งทางการเมืองในช่วงห้าปีที่ผ่านมาแสดงให้เห็นถึงความเห็นที่แตกต่างกันอย่างลึกซึ้งในสังคมไทยเกี่ยวกับการปกครองแบบประชาธิปไตยและเผด็จการทหาร
ผู้เขียนขอแย้งว่า ประชาธิปไตยไม่ได้เป็นเพียงแค่ความคิดเห็นแต่เป็นกระบวนการหนึ่ง (และดีที่สุด) ในการบริหารจัดการความเห็นที่แตกต่างกัน พระพุทธเจ้าทรงเตือนมิให้ยึดมั่นต่อทิฎฐิระบอบประชาธิปไตยก็ช่วยลดการยึดมั่นต่อทิฏฐิ เพราะประชาธิปไตยให้ความเคารพต่อความหลากหลายของความคิดเห็นเสรีภาพในการแสดงออก และการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นอย่างเสมอภาค ไม่เลือกปฏิบัติและปราศจากความรุนแรง
ในระบอบประชาธิปไตยนอกจากจะมีความเห็น (ทิฏฐิ) แตกต่างมากมายเช่น แนวทางจัดการปัญหาน้ำท่วม (ปล่อยน้ำไปโดยไม่สกัด, ใช้พนังกั้นน้ำ, เจาะถนน,ฯลฯ) แล้วยังมีความเห็น (ที่อาจเรียกว่า “อภิทิฏฐิ”) ว่าจะบริหารจัดการแนวทางที่แตกต่างเหล่านั้นอย่างไร(“เราจะทำประชาพิจารณ์อย่างประชาธิปไตย”, “เราจะทำตามคำสั่งผู้มีอำนาจสั่งการเท่านั้น”,ฯลฯ) หรือแม้แต่ อภิ-อภิทิฏฐิ (เช่น ข้อคิดเห็นเปรียบเทียบว่าการทำประชาพิจารณ์อย่างประชาธิปไตยดีกว่าการฟังคำสั่งผู้มีอำนาจอย่างไร)แต่ในระบอบเผด็จการต่างๆ ยากที่จะมีช่องว่างให้กับความหลากหลายเช่นนี้ มีได้ก็แต่อุดมการณ์เดียวกันหมด
ที่ผ่านมาคำสอนในพุทธศาสนาถูกนำมาอ้างเพื่อสนับสนุนระบบการปกครองแบบต่างๆกัน เนื่องจากพระพุทธเจ้าไม่มีคำสอนโดยตรงที่กล่าวเปรียบเทียบหลักการบริหารบ้านเมืองคำถามที่อาจเกิดขึ้นในใจของเราก็คือ แล้วพระพุทธเจ้าคิดอย่างไรกับประชาธิปไตย
มีอยู่ครั้งหนึ่งที่พระพุทธเจ้ายุติศึกชิงน้ำในแม่น้ำระหว่างญาติทางฝ่ายบิดาและฝ่ายมารดามิให้ต้องเข่นฆ่ากัน(เป็นที่มาของพระพุทธรูปปางห้ามญาติ) แน่นอนว่า คำกล่าวเตือนสติแก่ทั้งสองฝ่ายว่า การหลั่งเลือดเพื่อแย่งน้ำนั้นไม่คุ้มค่านับเป็นคำสอนตำหนิการใช้ความรุนแรง แต่ที่สำคัญไปกว่านั้น เราสามารถอ่านแนวทางเพื่อสันติของพระพุทธเจ้าได้จากสิ่งที่ มิได้ทำ
ถึงแม้ถ้าจะทำก็คงได้รับการยอมรับจากทั้งสองฝ่ายแต่พระพุทธเจ้าก็มิได้ให้คำตัดสินไปว่าควรจะจัดสรรปันส่วนน้ำจากแม่น้ำกันอย่างไรและมิได้แต่งตั้งผู้ทรงศีลธรรมคนใดให้มีอำนาจตัดสินว่าความเห็นของฝ่ายใดเป็นฝ่ายถูกพระพุทธเจ้าเพียงเล่านิทานชาดกเตือนสติให้ทั้งสองฝ่ายอารมณ์เย็นลง จากนั้นก็ปล่อยให้คิดหาคำตอบกันเองด้วยการเจรจาอย่างมีเหตุผล
นอกจากนี้ เมื่อพระพุทธเจ้าก่อตั้งคณะสงฆ์ ก็มิได้ใช้รูปแบบการปกครองสงฆ์ตามอย่างราชอาณาจักรใดๆหากแต่เลือกเอารูปแบบของสหพันธรัฐวัชชีซึ่งอาจกล่าวได้ว่าเป็นประชาธิปไตยเก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลกและเมื่อใกล้สวรรคต ก็มิได้ตั้งพระเถระรูปใดรูปหนึ่งขึ้นมาแทน หากแต่กล่าวว่า “ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา” [xxi]
นับแต่นั้นมา คณะสงฆ์จึงมิได้ปกครองกันด้วยอำนาจของปัจเจกแต่ด้วยธรรมวินัยซึ่งให้มีการตรวจสอบการประพฤติปฏิบัติกันเองอย่างสม่ำเสมอมิให้ผิดพลาดไม่ต่างจากที่นักการเมืองต้องมีการตรวจสอบกันเองมิให้คอรัปชั่นหรือลุแก่อำนาจ(ระบบสมณศักดิ์ต่างๆ นั้นเกิดขึ้นภายหลังทั้งสิ้นมิได้เป็นไปตามที่พระพุทธเจ้าบัญญัติแต่อย่างใด)
เมื่อสหพันธรัฐวัชชีตกเป็นเป้าโจมตีของพระเจ้าอชาตศัตรูแห่งราชอาณาจักรมคธ พระพุทธเจ้าได้ยกข้อดีของการปกครองแบบวัชชีว่า ตราบใดที่เหล่าเจ้าวัชชี “(1) หมั่นประชุมกันเนืองๆ... (2) พร้อมเพรียงกันประชุม พร้อมเพรียงกันเลิกประชุม และพร้อมเพรียงกันทำกิจที่เจ้าวัชชีพึงกระทำ... (3)ไม่บัญญัติสิ่งที่มิได้บัญญัติไว้ ไม่ถอนสิ่งที่ได้บัญญัติไว้แล้ว สมาทานประพฤติอยู่ในวัชชีธรรมของเก่าตามที่บัญญัติไว้แล้ว พึงหวังได้ซึ่งความเจริญอย่างเดียว ไม่มีเสื่อม” [xxii] สองข้อแรกนั้นสามารถแปลได้ว่าหมายถึงการให้ความสำคัญต่อการใช้เหตุผลร่วมกันในระดับสาธารณะและการบริหารจัดการความคิดเห็นอย่างเป็นประชาธิปไตย ส่วนข้อหลังแปลได้ว่าหมายถึงการให้ความเคารพต่อนิติรัฐหรือการบริหารบ้านเมืองด้วยกฎหมาย
ในหนังสือ “The Argumentative Indian” นักเศรษฐศาสตร์รางวัลโนเบล ศาสตราจารย์ อมารตยา เซ็น ชี้ว่าประชาธิปไตยมิใช่อะไรอื่น หากแต่คือการใช้เหตุผลร่วมกันในระดับสาธารณะ (public reasoning) นั่นเอง โดยกล่าวว่า “การใช้เหตุผลร่วมกันระดับสาธารณะนั้นรวมถึงการให้ประชาชนได้มีโอกาสอภิปรายทางการเมืองและมีบทบาทในการกำหนดทางเลือกทางสังคมร่วมกัน การลงคะแนนเสียงเป็นเพียงแค่วิธีหนึ่ง (แม้ว่าจะเป็นวิธีที่สำคัญมาก) ที่ทำให้การอภิปรายสาธารณะมีประสิทธิภาพ โดยเป็นโอกาสให้ได้ออกเสียงตัดสินใจพร้อมๆ ไปกับโอกาสให้ได้พูดและฟังโดยปราศจากความหวาดกลัว ดังนั้น ผลกระทบและประสิทธิภาพของการลงคะแนนเสียงจะมากน้อยเพียงใด ก็ขึ้นอยู่กับโอกาสในการอภิปรายสาธารณะเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง”[xxiii]
ศาสตราจารย์เซ็นยังยกตัวอย่างด้วยว่าศาสนาพุทธยุคเริ่มแรกนั้นเจริญสืบเนื่องต่อมาได้ด้วยพื้นที่ประชาธิปไตย โดยกล่าวว่า“การทำสังคายนามีจุดมุ่งหมายเพื่อหาข้อยุติระหว่างมุมมองความคิดที่แตกต่างกันโดยมีพระสงฆ์จากหลายที่หลายสำนักความคิดมาเข้าร่วม...การสังคายนาเหล่านี้แม้จะเกี่ยวข้องกับการคลี่คลายข้อแตกต่างด้านหลักธรรมและวิถีปฏิบัติทางศาสนาเป็นหลักแต่เห็นได้ชัดเจนว่ายังมีการตอบรับต่อข้อเรียกร้องทางสังคมและหน้าที่พลเมืองนอกจากนี้ ยังช่วยส่งเสริมและวางรากฐานในระดับกว้างให้กับธรรมเนียมการอภิปรายอย่างเปิดเผยถึงประเด็นที่เป็นที่ถกเถียง” [xxiv]
ในขณะที่พุทธศาสนายุคแรกเริ่มให้คุณค่าต่อการอภิปรายอย่างเปิดเผยประเทศที่เรียกตนเองว่าเป็น “เมืองพุทธ” ในปัจจุบันกลับมุ่งที่จะปิดปากไม่ให้มีการวิพากษ์ทางสังคมใดๆบางแห่งปกครองเหมือนรัฐเผด็จการตำรวจ ที่ยัดเยียดอุดมการณ์และนโยบายให้กับประชาชนผ่านโฆษณาชวนเชื่อและปิดกั้นเสรีภาพในการแสดงออกและการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นด้วยการเซ็นเซอร์
ในประเทศ “พุทธ” อื่นๆ ที่เหลือก็มักจะมีประชาธิปไตยแค่ในเชิงรูปแบบคือการเลือกตั้งเป็นครั้งๆ ไปแต่ไม่มีประชาธิปไตยในเชิงเนื้อหาสาระ เพราะการใช้เหตุผลร่วมกันระดับสาธารณะถูกอุดปากด้วยกฎหมายลิดรอนเสรีภาพทำให้ประเทศค่อยๆ ถอยหลังลงคลองกลับไปสู่ระบอบเผด็จการรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง ดังนั้นจึงเป็นเรื่องไม่น่าแปลกใจที่หนึ่งในข้อเสนอของนิติราษฎร์คือเสนอให้มีการทบทวนแก้ไขกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพซึ่งถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือประหัตประหารทางการเมือง มากกว่าเพื่อปกป้องสถาบันฯ ตามเจตนาเดิม
เมื่อพระพุทธเจ้าแสดงปฐมเทศนาธัมมจักกัปปวัตตนสูตร หรือ “หมุนกงล้อแห่งธรรม” นับเป็นการให้ความหมายใหม่ต่อภาษาสัญลักษณ์ของคำว่า “จักร” ในอินเดียโบราณ ซึ่งก่อนหน้านั้นไม่ได้หมายถึงล้อธรรมดาๆ แต่หมายถึงล้อของรถศึก[xxv] (เทียบได้กับล้อรถถังในปัจจุบัน) ในยุคนั้นมีพิธีพราหมณ์ เช่น พิธีอัศวเมธ[xxvi] เพื่อเฉลิมฉลองอำนาจเหนือราชอาณาจักรของ “จักรพรรดิ” ซึ่งแปลตรงตัวว่า “ผู้ทำให้กงล้อ (จักร) หมุนไป”[xxvii]
แต่ในทางกลับกัน พระพุทธเจ้ากลับถอว่าสมาชิกในสังคมทุกคนเป็นผู้หมุนกงล้อของสังคมร่วมกัน โดยกล่าวไว้ในวาเสฏฐสูตรว่า “การกระทำทำให้โลกหมุนไป การกระทำทำให้คนแต่ละรุ่นหมุนไป มนุษย์ทั้งหลายถูกผูกโยงไว้ด้วยกันด้วยการกระทำ เหมือนลิ่มสลักของรถที่กำลังแล่นไป”[xxviii]
ถึงแม้รัฐบาลอาจจะเพิกเฉยต่อข้อเสนอนิติราษฎร์ แต่นั่นก็ไม่อาจยับยั้งภาคประชาชนมิให้นำข้อเสนอเหล่านี้มาริเริ่มปฏิบัติเองโดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของ “คำประกาศว่าด้วยคุณค่าอันเป็นรากฐานของระบอบเสรีประชาธิปไตย” [xxix] ซึ่งถึงแม้นิติราษฎร์จะยอมรับว่าอาจไม่สามารถหยุดรถถังไม่ให้มาวิ่งในเมืองหลวงได้แต่จะช่วยหมุนกลับล้อรถถังในจิตสำนึกของประชาชน
คำประกาศเพื่อส่งเสริมประชาธิปไตยอย่างมีส่วนร่วมและสิทธิมนุษยชนจะเป็นทางเลือกแทนการรัฐประหารในการต่อสู้กับโรคร้ายทางสังคมและการเมืองรวมถึงการทุจริตคอรัปชั่นช่วยกัดกร่อนอวิชชาหรือความล้มเหลวทางจินตนาการที่มองไม่เห็นทางเลือก และเปิดทางไปสู่การสร้างและการเสริมความเข้มแข็งให้กับโครงสร้างทางสังคมและการเมือง (สังขาร) ที่ให้ความสำคัญต่อสิทธิของประชาชนเป็นอันดับแรกในจิตสำนึกสาธารณะ (วิญญาณ) และมีองคาพยพทางกฎหมาย (นามรูป) ที่ช่วยทำให้สิทธิดังกล่าวสัมฤทธิผลอย่างแท้จริง
สิ่งเหล่านี้จะช่วยขัดเกลาต่อมความรู้สึก (สฬายตนะ) ระดับสาธารณะเช่นสื่อมวลชนให้กลายเป็นผู้พิทักษ์สิทธิมนุษยชนและเสรีภาพ เมื่อสิทธิดังกล่าวพัฒนาก้าวหน้าขึ้นก็จะเกิดความรู้สึก (เวทนา) มีความสุขยินดีร่วมกันในสังคมมีความปรารถนาที่จะรักษาคุณค่าเช่นนี้ไว้ และความยึดมั่นในหลักสิทธิมนุษย์นิยมว่าเป็นแกนหลักในการยึดโยงสังคมไว้ด้วยกันแทนวัฒนธรรมอำนาจนิยม(นั่นคือ ถือว่าความถูกต้องเป็นรากฐานของอำนาจมิใช่ถือว่าการใช้อำนาจบาตรใหญ่คือความถูกต้อง)
เหล่านี้จะกลายเป็นผลย้อนกลับเชิงบวกช่วยหมุนวงจรคุณธรรมไปข้างหน้าขับไล่อวิชชาให้หมดไป เมื่อปฏิจจสมุปบาทแห่งประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชนหยั่งรากลึกลงไปในจิตสำนึกสาธารณะเช่นนี้แล้วก็จะไม่สามารถถูกฉีกทำลายได้ด้วยรัฐประหารอีกต่อไป
คำว่า “รัฐ” กับ “ราษฎร์” ต่างมาจากคำในภาษาสันสกฤตคำเดียวกันคือ “ราษฺฏฺร” เพราะรัฐคือราษฎร และราษฎรคือรัฐ วันหนึ่งที่สังคมไทยเป็นประชาธิปไตยมากยิ่งขึ้นก็จะขอบคุณ “นิติราษฎร์” ที่ช่วยเตือนให้เราระลึกได้ว่า นิติรัฐย่อมต้องเป็นนิติราษฎร์นั่นคือ การบริหารบ้านเมืองด้วยกฎหมายที่ไม่มากไม่น้อยไปกว่า “ของประชาชนโดยประชาชน เพื่อประชาชน”
................................................................................
[i] แปลและปรับปรุงจากบทความ “Uprooting the poisonous tree of thecoup d’état” ที่ตีพิมพ์เป็นสองตอนในนสพ. The Nation ฉบับวันที่ 23 และ 24 พฤศจิกายน2554 ตามลิงก์ www.nationmultimedia.com/opinion/Uprooting-the-poisonous-tree-of-the-coup-detat-30170428.html และ www.nationmultimedia.com/opinion/Uprooting-the-poisonous-tree-of-the-coup-detat-30170490.html
[ii] ในฉบับที่ลงในนสพ.The Nation เขียนว่าเป็นดร.เกษียณเตชะพีระ ผู้เขียนขออภัยในความผิดพลาดมา ณ ที่นี้
[iii] www.enlightened-jurists.com/blog/44
[iv] http://law.jrank.org/pages/7042/Fruit-Poisonous-Tree.html
[v] http://caselaw.lp.findlaw.com/scripts/getcase.pl?court=US&vol=251&invol=385
[vi] www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=20&A=884&Z=949
[vii] คำว่า “พีช” ในภาษาบาลี แปลว่า พืชก็ได้ เมล็ดก็ได้
[viii] www.accesstoinsight.org/tipitaka/an/an10/an10.104.than.html
[ix] คำว่า “ผล” มาจากภาษาบาลีที่มีความหมายได้ทั้ง ผลไม้ ผลผลิต และผลลัพธ์การพูดถึงเรื่องเหตุผลในภาษาไทยที่รับเอาคำว่า “ผล”มาจากภาษาบาลีจึงไม่สามารถหลีกเลี่ยงอุปมาอุปไมยต้นไม้ได้เลยนอกจากนี้เรายังมักพูดถึงการเริ่ม “ต้น” หรือ “รากเหง้า” ของปัญหาอีกด้วย
[x] รุกขสูตร โพชฌงคสังยุตต์ มหาวรรค สังยุตตนิกาย (ต้นไม้อื่นที่ถูกกล่าวถึงในลักษณะนี้ คือ ต้นโพธิ์ใบ ต้นมิลักขุ ต้นมะเดื่อ ต้นกัจฉกะ ต้นมะสัง) www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=19&A=2915&Z=2940
[xi] http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/sutta_line.php?B=27&A=3697
[xii] แปลเป็นภาษาอังกฤษและเรียบเรียงโดย Bruce Evans จากบทที่ว่าด้วยเรื่องกรรมในหนังสือ “พุทธธรรม” ของพระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตโต) โดยท่านพระธรรมปิฎกได้เขียนกิตติกรรมประกาศไว้ในตอนต้นของหนังสือ (หน้า vii)ดาวน์โหลดในรูปแบบ pdf ได้ที่ www.buddhanet.net/pdf_file/good_evil_beyond.pdf
ข้อความจากหนังสือ Good, Evil and Beyond ที่อ้างอิงถึงในบทความนี้ส่วนใหญ่มาจากบทที่ 4 “กรรมในระดับสังคม”ซึ่งไม่มีอยู่ในหนังสือ “พุทธธรรม” ฉบับภาษาไทย แต่พระธรรมปิฎกได้อธิบายละเอียดมากยิ่งขึ้นในภายหลัง(ดูคำอธิบายในย่อหน้าสุดท้าย หน้า xi) ผู้เขียนบทความจึงแปลจากภาษาอังกฤษที่ปรากฏในหนังสือGood, Evil and Beyond กลับเป็นภาษาไทยอีกทีหนึ่ง
[xiii] หน้า 69
[xiv] หน้า 70
[xv] หน้า 70
[xvi] http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=9&i=91&p=4
[xvii] หน้า 71
[xviii] http://www.siamintelligence.com/thai-forth-coup-0f-the-world/ http://www.whereisthailand.info/2011/09/world-coup-list/
[xix] หน้า 71
[xx] หน้า 71-2
[xxi] มหาปรินิพพานสูตร ทีฆนิกาย หน้า 141 http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=10&A=1888&Z=3915
[xxii] มหาปรินิพพานสูตร ทีฆนิกาย หน้า 68 http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=10&A=1888&Z=3915
[xxiii]Amartya Sen, The Argumentative Indian, หน้า 14
[xxiv]Amartya Sen, The Argumentative Indian, หน้า 15
[xxv] พจนานุกรมไทย-ไทย อ.เปลื้อง ณ นคร ให้ความหมายหนึ่งของ“จักร” ว่าหมายถึง “ล้อราชรถอันกลิ้งไปรอบราชอาณาเขตซึ่งเรียกว่าราชอาณาจักร”
[xxvii] พจนานุกรมไทย-ไทย อ.เปลื้อง ณ นคร ให้ความหมายว่า “ผู้ไปได้ทุกแห่งปราศจากสิ่งติดขัด, ผู้ใช้จักรเคลื่อนรถไปได้ทุกสถานไม่มีเครื่องกีดขวาง, พระราชาธิราช, พญาของโลก, ผู้ครองจักรหรือประเทศอันท่านแสดงว่ากว้างใหญ่ไพศาลจากทะเลด้านโน้นจดทะเลด้านนี้”
[xxviii] กมฺมุนาวตฺตติโลโก กมฺมุนาวตฺตติปชากมฺมนิพนฺธนาสตฺตา รถสฺสาณีวยายโต “การกระทำ” ในที่นี้คือ กมฺมหรือ กรรม นั่นเอง www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/sutta_line.php?B=13&A=11070